เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ นักศึกษาระดับปริญญาของวิทยาลัยนาฏศิลปในความควบคุมของนางสาวปราณี สำราญวงศ์ หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางค์คีตศิลปศึกษา ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำและทำนองเพลงระบำชุดนี้ขึ้น เพื่อนำออกแสดงเป็นผลงานการบรรเลงดนตรีและการแสดงนาฏศิลป์ ณ โรงละครแห่งชาติลีลาและลักษณะการแสดงสะท้อนให้เห็นกรรมวิธีในการเก็บใบชาของพวกชาวเขา เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ออกเดินทางไปเก็บใบชาซึ่งปลูกขึ้นตามไหล่เขา ต่อจากนั้นจึงนำมาเลือกใบและผึ่งแดดขณะที่รอให้ใบชาแห้งต่างก็รื่นเริงสนุกสนานกัน จวบเวลาเย็นจึงเก็บใบชาและเดินทางกลับสู่เหย้าตน
ผู้แต่งเพลง คือ นายปกรณ์ รอดช้างเผื่อน ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นดนตรีพื้นเมืองภาคพายัพเป็นระบำที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาที่อาศัยอยู่ตอนเหนือของไทยลักษณะการแสดง สะท้อนให้เห็นกรรมวิธีในการเก็บใบชา เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ ออกเดินทางไปเก็บใบชาตามไหล่เขา นำมาเลือกใบและผึ่งแดด ขณะที่รอให้ใบชาแห้งต่างก็รื่นเริงสนุกสนา จวบจนเวลาเย็นจึงเก็บใบชาและ เดินทางกลับสู่ที่พัก ผู้แสดงจะแต่งกายเลียนแบบชาวเขา