ประวัติรำสีนวล
เป็นลีลาการร่ายรำในศิลปะแบบพื้นเมืองของไทย ที่แสดงถึงบรรยากาศอันรื่นเริงสนุกสนาน ในบทร้องจะมีความหมายถึงสีสันของธรรมชาติที่สวยงาม แต่เดิมนั้นการรำสีนวลจะเป็นการแสดงที่นำมาจากละครเรื่องไชยเชษฐ์ เนื่องจากเป็นชุดที่มีเนื้อเพลงสั้นกะทัดรัด และท่ารำง่าย จึงนิยมนำมาฝึกหัดกัน และใช้แสดงเป็นหมู่คณะ การแต่งกายแต่งได้หลายแบบ เพลงที่จะบรรเลงออกตอนท้ายจะใช้อยู่หลายประเภท เช่น ออกด้วยเพลงเร็ว – ลา, ออกด้วยวรเชษฐ์ และออกด้วยเพลงสีนวลอาหนู 2 ชั้น ซึ่งเป็นเพลงจีนของเก่าที่ได้ดัดแปลงมาจากเพลงจีนเพลงหนึ่ง ทราบกันว่าครูปุย ปาบุยะวาทย์ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี นำเอาเพลงอาหนูมาประดิษฐ์ท่ารำให้เข้ากับบทร้อง และทำนอง ใช้รำต่อจากรำสีนวล เรียกว่า “สีนวลออกอาหนู”

เนื้อเพลงรำสีนวล

สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า    รักเจ้าสาวสีนวลหวลคิดถึง
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคำนึง    อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล